แนวโน้มการลงทุนด้าน “โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือสมาร์ทกริด (Smart grid)“ ได้สะท้อนถึงโครงการด้านเทคโนโลยีสำคัญๆ หลายโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการในการให้บริการระบบสาธารณูปโภค โดยปัจจุบันจะเห็นว่าการลงทุนไม่ใช่เพียงแค่การติดตั้งเครื่องมือวัดปริมาณการใช้ไฟฟ้าตามบ้าน หรือองค์กรธุรกิจเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่ๆ ตลอดแนวเส้นทางสายส่งไฟฟ้า และเครือข่ายสื่อสัญญาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือสมาร์ทกริด
กรุงเทพฯ – นายซัทยาจิต ดวิเวดิ ผู้อำนวยการด้านพลังงานและการวางแผนกลยุทธ์ SAS Institute Inc.กล่าวว่า เทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือสมาร์ทกริด (Smart Grid) ปัจจุบันมีตัวอย่างของความสามารถใหม่ๆ ที่สามารถขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นได้ อาทิ การคิดอัตราค่าไฟฟ้าที่แตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงเวลาที่ใช้งาน (time-of-use) การบริหารจัดการระบบไฟฟ้าขัดข้องที่มีความซับซ้อน และการตรวจจับการลักลอบใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งความสามารถใหม่ๆ เหล่านี้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ และอัตราการใช้พลังงานที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ที่อาจก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ขณะเดียวกันการบริการด้านสาธารณูปโภคต่างๆ ยังมีความหวังด้วยว่า การลงทุนใหม่ๆจะช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าที่ตกยุคไปแล้ว อย่างไรก็ตามคุณประโยชน์เหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่มีเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล
หากกล่าวถึงยักษ์หลับแห่งวงการอุตสาหกรรมของยุคกลางในศตวรรษที่ 20 แทบไม่หลงเหลือให้เห็นภูมิทัศน์เดิมๆ จากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เกิดการเปลี่ยนแปลงกิจการสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า อันเนื่องมาจากแนวทางการกำกับดูแล การควบคุม โลกาภิวัตน์ และความยั่งยืนต่างๆ และนี่คือข้อเท็จจริงบางประการที่แสดงถึงปริมาณของระดับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
- โดยคาดการณ์ว่าทั่วยุโรป จะมีการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าอัจฉริยะ 240 ล้านเครื่อง ภายในปี 2563
- โดยในปี 2578 ผู้ผลิตไฟฟ้าของจีนและอินเดีย จะใช้ถ่านหินในการผลิตเพิ่มขึ้ 3 เท่าจากปี 2533
- เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ค้าปลีกกิจการสาธารณูปโภค รายหนึ่งในตลาดที่มีการแข่งขัน พบว่ามีอัตรายกเลิกใช้บริการของลูกค้า 17% ในช่วงเวลา 6 เดือน ขณะที่ในภูมิภาคหนึ่ง มีอัตรายกเลิกสูงถึง 26%
- สัดส่วน 30% ของแรงงานในภาคกิจการสาธารณูปโภคของยุโรป อยู่ในช่วงวัยอายุสูงกว่า 50 ปี
ตัวอย่างเหล่านี้ สะท้อนภาพว่า บริการในกิจการสาธารณูปโภค กำลังอยู่ภายใต้แรงกดดันของการส่งมอบบริการจากสภาพแวดล้อมที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในการช่วยทำงานในระดับสูง ด้วยอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อ, ตอบสนองความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนา, และความคาดหวังในการรักษาลูกค้าไว้ให้ได้สำหรับตลาดที่มีการยกเลิกกฎเกณฑ์การกำกับดูแลอย่างสมบูรณ์แล้ว อย่างไรก็ตาม โชคร้ายที่ธุรกิจกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือแทบจะในระดับเดียวกันกับองค์ความรู้ที่กำลังหดหายไปเรื่อยๆ
นายซัทยาจิต กล่าวเพิ่มเติมว่า กิจการสาธารณูปโภคแถวหน้าในปัจจุบันจำเป็นต้องมองหาสิ่งดีๆ ท่ามกลางสถานการณ์ที่ย่ำแย่ หลายองค์กรต่างก็กำลังใช้ข้อได้เปรียบของจุดที่มาบรรจบกันของกลไกตลาด เพื่อทำให้การบริหารจัดการข้อมูลพลังงานขนาดใหญ่ และความสามารถด้านการวิเคราะห์ข้อมูลขององค์กรทันต่อสถานการณ์ เพราะหากปราศจากเทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลเข้ามาช่วย องค์กรแถวหน้าจะไม่สามารถมีความหวังต่อความสำเร็จถึงประโยชน์ที่คาดหมายว่าจะได้รับจากโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะได้เลย
ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้มีงานวิจัยที่เชื่อถือได้จาก โอวุ่ม (Ovum) เน้นย้ำว่า เฉพาะมิเตอร์อัจฉริยะ และโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ไม่สามารถนำข้อมูลเชิงลึกที่จะมาเปลี่ยนแปลงการทำงาน (actionable insight) หรือการสร้างความแตกต่างทางการแข่งขันออกมาได้ เพราะถ้ามิเตอร์แบบใหม่นี้จะมาเพิ่มประสิทธิภาพบริการสาธารณูปโภคให้มีความอัจฉริยะ ก็ต้องทำผ่านซอฟต์แวร์และบริการการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจอัจฉริยะ (BI) ด้วยโซลูชั่นเชิงนวัตกรรมจึงจะช่วยให้ระบบสาธารณูปโภคนั้นมีความฉลาด
ในขณะที่ ข้อมูลที่เกือบจะเรียลไทม์บนโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง การวิเคราะห์ก็กำลังถูกประยุกต์ใช้ในการกำหนดสถานการณ์ที่ดีที่สุด เพื่อนำส่งพลังงานที่เชื่อถือได้ไปสู่ผู้บริโภคปลายทาง ยกตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการสาธารณูปโภค ออกแคมเปญรับสมัครลูกค้าเข้าร่วมโครงการความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้า (Demand Response Programs) วิเคราะห์ว่าในแต่ละเดือนจะจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้เข้าร่วมโครงการที่มีการปรับแต่งอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานสิ้นเปลือง ในช่วงเวลาที่ระบบมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง
รวมทั้งลูกค้าที่สมัครเข้าร่วมโครงการแต่ละราย จะมีการปรับลดปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าในระบบในอัตราที่แตกต่างกัน โดยผู้ให้บริการสาธารณูปโภคต้องกำหนดลงไปเลยว่า ลูกค้ารายใด กำหนดตารางเวลาในการลดความต้องการใช้พลังงานในช่วงเวลาไหน และในช่วงเวลาใด และเป็นระยะเวลานานเท่าไร ซึ่งในการกำหนด บริการสาธารณูปโภค ย่อมมีข้อมูลจำนวนมาก และรูปแบบการจำลองที่ผ่านการพิสูจน์แล้วว่า สามารถสนับสนุน การตัดสินใจนี้ได้ และสามารถเปลี่ยนผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็วและเชื่อถือได้ย่อมเป็นทางเลือกที่ดี
นายทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แซส ซอฟท์แวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า ในการจัดการโครงข่ายที่มีความซับซ้อน หรือใกล้เคียงกันอย่างโครงข่ายโทรคมนาคม และกิจการสาธารณูปโภค จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงคุณภาพของการให้บริการ การส่งมอบพลังงาน โดยมุ่งเน้นไปยังพื้นที่ที่มีผลตอบแทนการลงทุนที่สำคัญไว้คือ
การวางแผนที่ดี เพราะไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดเพื่อสร้างผลกำไร หรือการประมาณการณ์ความต้องการในการผลิตกระแสไฟฟ้าในระยะยาว การบูรณาการระหว่างเครื่องมือผลิตพลังงานขนาดเล็ก และพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมทั้งความสามารถของผู้ให้บริการในกิจการสาธารณูปโภค ในการนำส่งกำไรต่างๆ จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เมื่อมีวางแผนการขับเคลื่อนข้อมูลพลังงานที่ถูกต้อง
การเข้าถึงข้อมูลลูกค้าเชิงลึก ทั้งนี้จะเห็นว่าทุกๆ ปี องค์กรด้านพลังงานมีการตัดจำหน่ายลูกหนี้เป็นหนี้สูญนับล้านราย เนื่องจากลูกค้าเหล่านี้ไม่ชำระค่าใช้ไฟฟ้า ทำให้กิจการบริการสาธารณูปโภคเผชิญแรงกดดันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากผู้ถือหุ้น และหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อลดความสูญเสียเหล่านี้ให้เหลือน้อยที่สุด และขณะเดียวกัน ก็ยังคงต้องให้บริการกับผู้บริโภคที่มีแนวโน้มจะไม่จ่ายค่าบริการต่อไป ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลในแนวทางการเข้าถึงลูกค้าจะสามารถช่วยให้บริการสาธารณูปโภคพิจารณาถึงความต้องการในการดูแลตามกฎระเบียบที่สมเหตุสมผล ร่วมกับการสร้างแบบประเมินความเสี่ยงสำหรับลูกค้าทุกรายบนพื้นฐานของการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ รวมทั้งรูปแบบการใช้พลังงานของลูกค้าแต่ละราย และประวัติการชำระเงิน ซึ่งในสถานการณ์ตลาดที่มีการแข่งขัน บริการด้านสาธารณูปโภค การวิเคราะห์ข้อมูลที่ดีสามารถพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า ด้วยการจับคู่ข้อเสนอที่เหมาะสม และมีความหลากหลายให้กับลูกค้าที่วิเคราะห์แล้วว่า “ใช่” โดยวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม เพื่อให้กระบวนการข้อเสนอกับลูกค้าเกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะที่บริการกิจการสาธารณูปโภค กำลังเปลี่ยนไปสู่การวิเคราะห์ขั้นสูง ( Advanced Analytics) เพื่อจัดกลุ่มลูกค้า ทั้งกลุ่มที่ ”ชอบ” และ “ไม่ชอบ” จากนั้นก็ทำการประเมินคะแนนความโน้มเอียงของลูกค้า เพื่อเปลี่ยนไปยังข้อเสนอที่แตกต่างกัน
ความเสี่ยง บริการสาธารณูปโภคต้องบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการซื้อขาย วิกฤติสินเชื่อที่เกิดขึ้นทั่วโลก แสดงให้เห็นว่ากิจการสาธารณูปโภคหลายรายเห็นแล้วว่ารูปแบบความเสี่ยงของพวกเขาแคบเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมความสามารถของพวกเขาในการวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวทางการตลาด, การชี้วัดลูกหนี้ธุรกิจเอกชนและการพัฒนามาตรการลดผลกระทบต่างๆ ซึ่งการวิเคราะห์ขั้นสูงด้วยเทคโนโลยีจะช่วยให้บริการสาธารณูปโภคมีความสามารถผสานรวมข้อมูลทั้งจากภายนอกและภายใน และเปลี่ยนรูปแบบมาสู่สารสนเทศที่มีประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อบ่งบอกสถานะความเสี่ยงได้อย่างเที่ยงตรง
แนวทางการปฏิบัติงาน เทคโนโลยีวิเคราะห์ข้อมูลพลังงานของแซส สามารถวิเคราะห์ลงลึกไปถึงการดูแลอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหม้อแปลงไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้องในแผนกการบำรุงรักษา โดยจะมีระบบบริหารจัดการเพื่อให้อุปกรณ์ใช้งานได้นาน ช่วยยืดอายุเวลาของอุปกรณ์ และสามารถคาดการณ์ความเสียหายของอุปกรณ์ไว้ล่วงหน้า ในอุปกรณ์ที่ทำงานมานาน เนื่องจากอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้าเหล่านี้ เป็นต้นทุนที่สำคัญในธุรกิจสายส่งไฟฟ้า ซึ่งองค์กรมีการใช้จ่ายลงทุนอุปกรณ์เหล่านี้ในแต่ละปีมหาศาล
ปัจจุบันกิจการสาธารณูปโภคในตลาดเอเชียแปซิฟิก และอเมริกาเหนือ ให้ความสำคัญกับการลงทุนในอุปกรณ์ใหม่ที่เรียกว่า “Synchrophasors” หรือชุดตรวจจับ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของเฟเซอร์แรงดันในระบบไฟฟ้า (PMU) โดยชุดอุปกรณ์ PMU นี้สามารถตรวจวัดแรงดันและทราบข้อมูลการส่งกระแสไฟฟ้าแรงสูงได้ด้วยความเร็วสูง จากการบันทึกโดยทั่วไปอยู่ที่ความถี่ 30 ครั้งต่อวินาที เปรียบเทียบกับเทคโนโลยีแบบเดิมที่ทำการบันทึกได้เพียง 1 ครั้งต่อ 4 วินาที โดยการวัดแต่ละครั้ง จะมีการประทับตราเวลาเพื่อสร้างมุมมองวิเคราะห์แบบองค์รวม ของกระแสไฟฟ้าบนโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้า
ด้วยซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นด้านการวิเคราะห์ข้อมูลของแซส ในอุปกรณ์ “Synchrophasors” จะช่วยให้การบ่งชี้จุดที่มีความผิดปกติ แรงดันความเครียดของสนามไฟฟ้าบนโครงข่ายทำได้ดียิ่งขึ้น และยังสามารถนำไปใช้เพื่อกำหนดสัญญาณเตือนระดับความเสี่ยง ด้วยปฏิบัติการที่ถูกต้องเพื่อรักษาไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือของธุรกิจ
“ บ่อยครั้งที่บริการสาธารณูปโภค คาดการณ์ถึงความสามารถในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมหาศาลของข้อมูลใหม่ๆ เพื่อสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกิจกรรมธุรกิจประจำวันของบริการด้านนี้ “ไว้ต่ำเกินไป” ผลลัพธ์ก็คือ ข้อมูลสารสนเทศที่มีค่า จึงยังคงติดกับอยู่ในไซโลของข้อมูลที่ไม่มีใครนำไปใช้ได้ และบริการสาธารณูปโภค ก็ยังมีผลการปฏิบัติการต่ำกว่าที่คาดหมายอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งหลายด้าน เช่น คุณภาพของข้อมูลการวัด, การบริหารจัดการสินทรัพย์ และงานบริการลูกค้า ความเป็นผู้นำของผู้บริหาร จะต้องสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านขั้นพื้นฐาน จากหน่วยธุรกิจที่แยกออกจากกันให้เป็นองค์กรหนึ่งเดียว ซึ่งให้ความสำคัญกับการแบ่งปันสารสนเทศ และคุณภาพข้อมูล ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับจากแนวทางนี้ ควรสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการพลังงาน รุ่นใหม่ๆ ตลอดจนบุคลากรซึ่งอยู่ในวัยใกล้เกษียณ ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจด้านสาธารณูปโภค ยังอยู่ภายใต้การปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก จึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้สามารถเกาะติดกับสถานการณ์ของความเปลี่ยนแปลง รวมถึงการส่งมอบคุณค่าทางธุรกิจจากการลงทุนด้านโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ” นายทวีศักดิ์ กล่าวสรุป
เกี่ยวกับบริษัท แซส
บริษัท แซส เป็นผู้นำในตลาดซอฟต์แวร์และบริการด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ (Business Analytics) ด้วยโซลูชั่นเชิงนวัตกรรมที่ให้ลูกค้าในรูปของ Integrated Framework ทำให้บริษัท แซส สามารถช่วยลูกค้าเพิ่มประสิทธิภาพและมูลค่าผ่านการตัดสินใจทางธุรกิจที่ดีและรวดเร็วขึ้น สำหรับจำนวนลูกค้าที่ได้นำโซลูชั่นของแซสไปใช้แล้วนั้นมีมากกว่า 65,000 แห่งทั่วโลก และนับตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา แซสเดินหน้าอย่างมุ่งมั่นในการเป็น “พลังแห่งการรอบรู้” (The Power to Know®) สำหรับลูกค้าทั่วโลก